เลขที่บัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :
ถามเงือกน้อย
เงือกน้อย
14.30
เงือกน้อย
สวัสดีจร้าาา... วันนี้มีอะไรให้เงือกน้อยช่วยคะ ถามเงือกน้อยมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้คะ
14.30

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
ข่าวกิจกรรม
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา วางแนวทางขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ พร้อมเน้นย้ำ 4 มาตรการสำคัญเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเค็มอย่างยั่งยืน
10 กุมภาพันธ์ 2568

ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา วางแนวทางขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ พร้อมเน้นย้ำ 4 มาตรการสำคัญเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเค็มอย่างยั่งยืน

.ช่วงบ่ายวันที่ 31 มกราคม 2568 ที่ห้องประชุม CEO ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือและวางแผนการจัดแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ 4 อำเภอคาบสมุทรสทิงพระ ได้แก่ อำเภอระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และสิงหนคร โดยมุ่งเน้นมาตรการสำคัญในการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ การป้องกันน้ำท่วม การจัดการน้ำแล้ง และการป้องกันปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ เพื่อสร้างความสมดุลและความยั่งยืนในการจัดการน้ำในพื้นที่ ลดผลกระทบต่อประชาชน และเสริมสร้างความมั่นคงทางน้ำในระยะยาว

. การประชุมในครั้งนี้ มีที่มาจากการลงพื้นที่ของ พลตรี กัลย์สรรค์ จันทรเสน ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา โดยได้เยี่ยมเยียนประชาชนและให้คำแนะนำด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ โดยเน้นการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินโครงการพระราชทาน "โคก หนอง นา" สำหรับข้าราชบริพารและหน่วยราชการในพระองค์ในพื้นที่ตำบลพังยาง อำเภอระโนด และตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างเป็นระบบและสามารถขยายผลให้เป็นโมเดลต้นแบบในการจัดการน้ำในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

. สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 4 อำเภอคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ได้มีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบออกเป็น 3 โซนหลัก ได้แก่ โซนที่ 1 พื้นที่อำเภอระโนดตอนบนจนถึงตำบลพังยาง อำเภอระโนด, โซนที่ 2 พื้นที่อำเภอระโนดตอนกลางลงไปทางทิศใต้จนถึงตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ และโซนที่ 3 พื้นที่อำเภอสทิงพระลงทางทิศใต้จนถึงอำเภอสิงหนคร เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในแต่ละโซนมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดระบบการจัดการน้ำที่ยั่งยืนและสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเค็มรุกล้ำได้อย่างเป็นระบบ

.ในส่วนของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ 4 อำเภอคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งมักประสบปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรทุกปี ได้มีการร่างแผนการต่างๆ เช่น การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ การกำหนดจุดติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์ การสร้างการรับรู้ในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงการขุดลอกทรายที่ปิดกั้นทางน้ำริมทะเลอ่าวไทยและการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่เสี่ยง นอกจากนี้ ยังมีการฝึกซ้อมการบริหารจัดการน้ำและการป้องกันบรรเทาอุทกภัยในเดือนเมษายน 2568 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ฤดูฝน

. ด้านนายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้กล่าวเน้นย้ำถึงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเค็ม ผ่าน 4 มาตรการสำคัญ ได้แก่ การเตรียมเครื่องมือให้เหมาะสมกับพื้นที่ การลงพื้นที่สำรวจปัญหาอย่างแท้จริง การศึกษาประวัติศาสตร์และลักษณะพื้นที่และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ยังได้ให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำประปาและน้ำดื่มเพื่อการอุปโภคและบริโภค พร้อมทั้งดำเนินการตรวจสอบแหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้เหมาะสม