ข่าวกิจกรรม
เริ่มแล้ว! งาน “ของดีเมืองจะนะ” ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 17 – 26 ก.ค. 68 เชิญชวนประชาชนร่วมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น . เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 ณ เวทีกลาง ลานอเนกประสงค์หน้าสถานีรถไฟจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสง
18 กรกฎาคม 2568
เริ่มแล้ว! งาน “ของดีเมืองจะนะ” ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 17 – 26 ก.ค. 68 เชิญชวนประชาชนร่วมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น
.
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 ณ เวทีกลาง ลานอเนกประสงค์หน้าสถานีรถไฟจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มอบหมายให้ นายวิทยา จันทน์เสนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ของดีเมืองจะนะ” ครั้งที่ 21 ประจำปี 2568 โดยมี นายซุลกิฟลี สัญญากุล นายอำเภอจะนะ นางสาวปรินดา ปาลาเร่ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นางสาวจิราวดี อ่อนวงศ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา  พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการโรงไฟฟ้าจะนะ คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.) ปลัดอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอำเภอจะนะ และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมพิธีอย่างล้นหลาม
.
ทั้งนี้ งาน “ของดีเมืองจะนะ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 26 กรกฎาคม 2568 เพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมประเพณีและการท่องเที่ยว รวมถึงประชาสัมพันธ์และจำหน่ายสินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์เด่นของอำเภอจะนะ ตลอดจนส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
.
นายวิทยา จันทน์เสนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า งานประจำปีของดีเมืองจะนะ ครั้งที่ 21 ถือเป็นเวทีสำคัญในการแสดงออกถึงความร่วมมืออันแน่นแฟ้นระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสืบสานเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชนในพื้นที่
.
นอกจากนี้ งานยังเป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงคนเขาขาวเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอจะนะถือเป็นแหล่งกำเนิดคนเขาขาวสายพันธุ์ดีที่มีชื่อเสียงระดับประเทศและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เกษตรกรจึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของเมืองจะนะ และที่สำคัญ งานของดีเมืองจะนะยังสะท้อนถึงความงดงามของสังคมพหุวัฒนธรรม ที่ประชาชนจากหลากหลายศาสนาและวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ด้วยความเคารพและเข้าใจซึ่งกันและกัน อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน