ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs.
ชื่อวงศ์ : Miliaceae
ชื่อสามัญ : สะเดาเทียม
ชื่อทางการค้า : -
ชื่อพื้นเมือง : เทียม, สะเดาช้าง (ตรัง)
ชื่อวงศ์ : Miliaceae
ชื่อสามัญ : สะเดาเทียม
ชื่อทางการค้า : -
ชื่อพื้นเมือง : เทียม, สะเดาช้าง (ตรัง)
ลักษณะ
ไม้ต้นสูง ๓๐ - ๔ เมตร เปลือก เรียบเมื่ออายุยังน้อย เมื่อมีอายุมากขึ้นเปลือกจะแตกล่อนเป็นแผ่น ใบประกอบเป็นรูปขนนก ก้านใบยาว ๒๐ - ๖ เซนติเมตร เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อย เยื้องสลับกันเล็กน้อย จำนวน ๗ - ๑ คู่ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง ๓ - ๔ เซนติเมตร ยาว ๕ - ๘ เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ใบสีเขียวอ่อน ดอกออกรวมเป็นช่อ ตามง่ามใบ สีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลรูปไข่ เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นแรงมี เมล็ดเดียว ออกดอกเดือนมีนาคม ผลแก่ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
นิเวศวิทยา
พบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไป ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นา
ประโยชน์
เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบ ทุกส่วน เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ดอกอ่อนใช้รับประทานได้ เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือกต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง
ไม้ต้นสูง ๓๐ - ๔ เมตร เปลือก เรียบเมื่ออายุยังน้อย เมื่อมีอายุมากขึ้นเปลือกจะแตกล่อนเป็นแผ่น ใบประกอบเป็นรูปขนนก ก้านใบยาว ๒๐ - ๖ เซนติเมตร เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อย เยื้องสลับกันเล็กน้อย จำนวน ๗ - ๑ คู่ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง ๓ - ๔ เซนติเมตร ยาว ๕ - ๘ เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ใบสีเขียวอ่อน ดอกออกรวมเป็นช่อ ตามง่ามใบ สีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลรูปไข่ เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นแรงมี เมล็ดเดียว ออกดอกเดือนมีนาคม ผลแก่ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
นิเวศวิทยา
พบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไป ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นา
ประโยชน์
เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบ ทุกส่วน เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ดอกอ่อนใช้รับประทานได้ เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือกต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง